วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

The Ohio state studies 

การศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท
                จากการศึกษาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท พบว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถ
อธิบายได้เป็นสองมิติ คือ พฤติกรรมมุ่งคน (
consideration) และ พฤติกรรมมุ่งงาน (initiating structure)
                พฤติกรรมมุ่งคน
คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน ติดต่อสื่อสาร
แบบสองทาง เคารพความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา
  
ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการ
ของพวกเขา สร้างความใกล้ชิดทางจิตใจกับผู้ตาม  ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่

·     
การรับฟังความเห็นของพนักงาน                    การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน
·      บอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า                สนใจความเป็นอยู่ของพนักงาน
·      ปรึกษาหารือกับพนักงาน                                   ติดต่อสื่อสารกับพนักงาน
·      เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของพนักงาน            เป็นมิตรกับพนักงาน    
       
   พฤติกรรมมุ่งงาน
   คือ  พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งระบุงานและความรับผิดชอบที่เจาะจงของสมาชิก       
 
แต่ละคนให้ชัดเจน   กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน  การประสานกิจกรรมของพนักงาน
การมุ่งความสำคัญของกำหนดการ มุ่งการกำกับอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จ
ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่
·    การวางหมายกำหนดการทำงาน                      การรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน
·    การกระตุ้นให้ใช้ระเบียบปฏิบัติเดียวกัน        การตัดสินใจสิ่งที่ต้องทำ และทำอย่างไร
·    การกดดันพนักงาน                                             การระบุบทบาทพนักงานให้ชัดเจน
·    การแก้ปัญหา การวางแผน                              การประสานงาน การให้การสนับสนุน
       
การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำแบบสองมิตินี้ ผู้นำอาจมีสไตล์ผู้นำอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่แบบ
 คือ                                 
1. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ                         3. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ
2. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง                        4. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง
สรุปผลการวิจัยบางประการ
จากการศึกษาของ ม. โอไฮโอสเตท เกี่ยวกับมิติทั้งสองด้านของผู้นำ
พบว่า
                       
1. ผู้นำที่มีประสิทธิผล จะมีพฤติกรรมที่มุ่งเน้นทั้งสองมิติ คือ ทั้งด้านมุ่งคน และมุ่งงาน
                        
2. กลุ่มผู้ตามมีความต้องการให้ผู้นำแสดงออกด้วยพฤติกรรมด้านมุ่งคน มากกว่า มุ่งงาน
                       
3. ในทางกลับกันกับข้อ 2 ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของผู้นำ ต้องการให้ผู้นำใช้พฤติกรรม
              ด้านมุ่งงาน เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งของผู้บังคับบัญชายิ่งสูงมากยิ่งต้องการให้ผู้นำใช้
พฤติกรรมด้านมุ่งงานมากขึ้นตามไปด้วย

เรียบเรียงจาก: สมยศ นาวีการ (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพ: บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน).
ครูดีศรีท่าตูม
จากการปฏิบัติงานตลอดมา ผลของการปฏิบัติงานทำให้ได้รับเกียรติเป็น
ครูดีศรีท่าตูม เนื่องจากการพัฒนาตนเองตลอดมาทำให้มีวันนี้ได้
ขอขอบคุณ คุณพ่อ คุณแม่ที่ทำให้ลูกคนนี้มาถึงวันนี้ได้

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554


ทฤษฎีคุณลักษณะเด่นของภาวะผู้นำ (Trait Theory)


นักทฤษฎีคุณลักษณะเด่นของผู้นำ (Trait Theory)
           สต๊อกดิลล์ (Stogdill) ได้ทำการวิจัยคุณลักษณะเด่นของผู้นำ ระหว่างปี ค.ศ. 1904-1948
จำนวน 124 เรื่อง โดยเน้นการเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำ กับผู้ที่ไม่เป็นผู้นำ พบว่า
คุณลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นผู้นำในฐานะผู้ใช้ความสามารถของตนให้ผู้อื่นปฏิบัติ
ภารกิจได้บรรลุเป้าหมายนั้นตรงตามสมุติฐานได้แก่ ความเฉลียวฉลาด ความรู้สึกไว้ใน
การรับรู้ต่อความต้องการของผู้อื่น ความเข้าใจในงาน ความคิดริเริ่ม ความอดทนต่อการ
แก้ปัญหาต่างๆ มีความมั่นใจในตนเอง ต้องการแสวงหางานรับผิดชอบ และต้องการอยู่
ในฐานะที่มีอำนาจและการควบคุม  
          อย่างไรก็ตามความจำเป็นต้องใช้คุณลักษณะแต่ละชนิดมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่

กับสถานการณ์ ผลวิจัยเหล่านี้ไม่สามารถระบุคุณลักษณะที่จำเป็นหรือให้ความแน่นอนว่า
องค์ประกอบใดจะทำให้ผู้นำประสบความสำเร็จนปี ค.ศ. 1974 สต๊อกดิลล์ ได้ทำการ
สังเคราะห์ผลงานวิจัยคุณลักษณะผู้นำ ระหว่างปี 1949-1970 จำนวน 163 กรณี พบว่ามี
คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความมีประสิทธิผลของผู้นำและมีทักษะใหม่ๆบางประการที่
เพิ่มขึ้นดังต่อไปนี้
           คุณลักษณะและทักษะที่แยกผู้นำจากผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำ
           คุณลักษณะ (Traits)         
           1.    ความสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์
           2.    รับรู้ไวต่อสภาพแวดล้อมทางสังคม
           3.    มีความทะเยอทะยานมุ่งความสำเร็จ
           4.    มีความเปิดเผยตรงไปตรงมา
           5.    ให้ความร่วมมือ
           6.    ตัดสินใจดี
           7.    สามารถพึ่งพาอาศัย
           8.    ต้องการมีอำนาจเหนือและมีแรงจูงใจด้านอำนาจ
           9.    มีพลังหรือมีระดับความกระตือรือร้นสูง
          10.    มีความมุมานะ พยายามอย่างต่อเนื่อง
          11.    มีความมั่นใจในตนเอง
          12.    สามาถทนต่อภาวะความเครียด
          13.    เต็มใจแสวงหางานรับผิดชอบ  

อ้างอิง
แหล่งที่มา : เอกสารประกอบการสอน  มหาวิทยาลัยรามคำแหงปิยะนุช เงินคล้าย.เอกสารประกอบการสอน วิชา PS 708 ทฤษฎีองค์การ หัวข้อ พฤติกรรมองค์การ กระบวนการใน
การบริหารองค์การ.มหาวิทยาลัย รามคำแหง, 2543.

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553


 กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน
การปฏิบัติกิจกรรมสัปดาห์การเยี่ยมบ้านของนักเรียนโรงเรียน
บ้านหนองยางฯ โดยคณะครูแบ่งหน้าที่การเยี่ยมบ้าน
ตามหมู่บ้านที่รับผิดชอบ ข้าพเจ้า นางสุลักษณา สิมมา  รับผิดชอบหมู่ที่ 12
เพื่อศึกษาข้อมูลของนักเรียนทั้งสภาพบ้าน ครอบครัว ความเป็นอยู่
ฐานะของครอบครัว ศึกษาสภาพปัญหาของครอบครัวที่อาจเป็นผลกระทบ
ต่อการศึกษาของนักเรียน กรณีตัวอย่างของ เด็กหญิงสายทอง มณีกันทัง
นักเรียนเป็นคนเหม่อลอย ทำกิจกรรมไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
เมื่อได้ออกเยี่ยมบ้านทำให้ทราบปัญหาคือ ฐานะ
ครอบครัวยากจน  พ่อดื่มสุรา มีปัญหาครอบครัว โรงเรียนได้ทราบปัญหา
และเสนอผู้บริหารนำกรณีตัวอย่างแก้ปัญหาต่อไป

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประมวลภาพกิจกรรมพบปะสนทนาศิษย์ลูก
                                      ภาพกิจกรรมของผู้ปกครอง ครู และนักเรียนร่วมประชุมปรึกษา
            หารือเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูและการกำหนดแผน
            การเรียนของโรงเรียนโครงการนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบ
            ปัญหาของผู้ปกครอง ครูและนักเรียน ในแง่ต่าง ๆ และต้องการทราบ
            ความต้องการของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียน และครู กิจกรรมลักษณะนี้ 
            ทำให้โรงเรียนได้ทราบปัญหา สามารถวิเคราะห์ปัญหา นำมาซึ่งการแก้
            ปัญหาที่ตรงตามเป้าหมายอย่างแท้จริง

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมวันสำคัญ

โรงเรียนจัดกิจกรรมในวันสำคัญทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการหนังสือเล่มเล็ก

กิจกรรมการสร้างหนังสือเล่มเล็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3
โดยจัดกิจกรรมการสร้างหนังสือเล่มเล็ก สอดคล้องกับกลุ่มสาระภาษาไทย
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการสร้างหนังสือ และการเขียนบทความ